Manor Lords

Manor Lords

Not enough ratings
ไกด์มือใหม่เพื่อมือใหม่ Manor Lords (แพตช์ 0.8.029)
By Setto
ไกด์สอนการเล่นพื้นฐานสำหรับผู้เล่น Manor lord มือใหม่
   
Award
Favorite
Favorited
Unfavorite
**ประกาศ**
ขณะนี้คู่มือกำลังอัพเดท ขออภัยในความไม่สะดวกหน้าที่กำลังอัพเดทจะเขียนว่า "กำลังอัพเดท" ครับ
สรุปแพตช์ 0.8.029
-rework ระบบ บ่อน้ำ โรงเตี้ยมและการตั้งตลาด
-เพิ่มแม่น้ำ
โหมดเกม
Game setup
คือ โหมดการเล่นโดยการเล่นผู้เล่นจะต้องเลือก Scenario โดย Scenario จะเป็นสถานการณ์ต่างๆให้ผู้เล่นได้รับมือ
โหมดการเล่นปัจจุบันมีทั้งหมด 3 โหมดหลักแบ่งเป็นดังนี้
1.Rise to prosperity(มุ่งสู่ความเจริญ)
= Scenario นี้จะเน้นไปที่การสร้างเมืองเป็นหลักไม่ต้องเผชิญหน้ากับลอร์ดหรือโจรเป็นโหมดที่เหมาะกับมือใหม่ที่ต้องการสร้างเมืองเพลินๆ เงื่อนไขจบเกมสร้างเมืองให้ถึงขั้น Large town
2.Restoring the peace(หวนคืนสู่ความสงบ)
= Scenario นี้จะให้ผู้เล่นได้ต่อสู้และปกป้องกินแดนของผู้เล่นจาก Lord ฝ่ายตรงข้ามที่พยายามอ้างสิทธิในดินแดนของผู้เล่นและกลุ่มโจรรอบๆดินแดนที่จ้องจะขโมยของและรุกรานดินแดนของเรา เงื่อนไขการจบเกมยึดทุกดินแดนให้เป็นของผู้เล่น
3.On the edge (เผชิญหน้ากับอันตราย)
= Scenario นี้จะเน้นไปที่การสร้างเมืองแบบ Rise to prosperity แต่ผู้เล่นจะต้องคอยรับมือกับกลุ่มโจรที่จะบุกมาทุกๆ 2-3 ปี เงื่อนไขจบเกมสร้างเมืองให้ถึงขั้น Large town และปกป้องเมืองให้รอดจากกลุ่มโจร
Template difficultly = การเลือกความยากของตัวเกม Relaxing โหมดง่ายเหมาะกับผู้เล่นมือใหม่ทรัพยากรหาง่ายเมืองเติบโตเร็ว Default โหมดปรกติ และ Challenging โหมดยากสุดทรัพยากรหายาก หากทรัพยากรถูกหิมะหรือฝนตกใส่จะถูกทำลาย เมืองเติบโตยาก Lord ฝ่ายตรงข้ามจะ aggressive มากขึ้น
นอกจากทั้งสาม template แล้วผู้เล่นยังสามารถปรับความยากอื่นๆได้ตามต้องการอย่าง การวางบ่อน้ำไม่ต้องอิงจากเส้นทางน้ำใต้ดิน สภาพอากาศที่รุนแรงมากขึ้นหรือกลุ่มโจรตั้งค่ายรอบๆเมืองมากขึ้น
อินเตอร์เฟส 1
เมื่อเข้าเกมจะเจอ UI ทางด้านบนจะแสดงถึงทรัพยากรและแรงงานที่มีในพื้นนั้นๆ โดยแบ่งเป็นดังนี้




1.Unassigned = แสดงจำนวนครอบครัวทั้งหมดที่ไม่ได้รับมอบหมายงาน ครอบครัวที่ไม่ได้รับมอบหมายงานจะช่วยสร้างสิ่งก่อสร้างและใช้วัวในการลาก Timber (ท่อนซุง)ผมเข้าใจว่านอกจากลากท่อนซุงสำหรับก่อสร้างน่าจะรวมถึงการส่งไม้ไปแปรรูปด้วย) ดังนั้นเราควรเหลือแรงงานให้ว่างอย่างน้อยหนึ่งคนเพื่อให้ช่วยสร้างสิ่งก่อสร้างได้ตลอดเวลา


2.Assigned = แสดงครอบครัวที่ได้รับมอบหมายงานอยู่ทั้งหมด โดยเราสามารถกด Tab เพื่อแสดงครอบครัวทั้งหมดในแผนที่ว่าทำงานตรงไหนบ้าง



3. Burgage plots = แสดงจำนวน Living space(ที่อยู่อาศัย)ที่เขตนั้นๆมี ถ้าเราชี้เมาส์จะแสดงถืงจำนวนเมืองที่มีคนมาอาศัย(Occupied)และจำนวนบ้านที่สร้างทั้งหมด(Constructed) นอกจากนี้จะแสดงด้วยว่าชาวเมืองอาศัยอยู่ในบ้านแต่ละเวลอีกด้วย






4. Available living space = จำนวนบ้านที่ไม่มีเจ้าของหรือยังไม่มีคนมาอยู่อาศัยทำให้เราคำนวนได้ว่าเรายังมีที่ว่างให้กับคนอีกกี่คนจะได้ไม่สร้างบ้านมากจนรับคนมามากเกินไปนั้นเอง



5.Total Population = แสดงจำนวนประชากรและเลเวลของบ้านที่ประชากรอยู่ทั้งหมดและ Retinue(ทหารประจำการ)ในเมือง

6.Approval = แสดงค่าความพึงพอใจภายในเมืองซึ่งจะส่งผลต่อการย้ายของชาวบ้านที่จะมาอาศัยในเมืองของเรา ยิ่งค่านี้สูงจะเพิ่มโอกาศการเติบโตและย้ายของชาวบ้านที่มาอาศัยภายในเมืองมากขึ้น นอกจากนี้ยังส่งผลต่อ Morale(ขวัญกำลังใจ)ของทหารภายในเมืองอีกด้วย


7.Public order = แสดงค่าความสงบภายในเมืองหากค่านี้ต่ำมากเกินไปชาวบ้านจะกลายเป็นโจรและเผาเมืองเราทิ้ง จากที่เล่นมาค่านี้จะลดลงจากการที่เราไม่ได้สร้างบ้านของเจ้าเมืองและขาดการสร้างบ่อน้ำ








8.Regional wealth = แสดงรายได้ของชาวบ้าน โดยหลังจากอัปเกรดบ้านเป็นขั้นสองโดยในหนึ่งเดือนผู้เล่นจะได้รับ
  • 1 Regional wealth ต่อบ้านเลเวลสอง 1หลัง
  • 2 Regional wealth ต่อบ้านเลเวลสาม 1 หลัง


9.Live stock = แสดงจำนวนสัตว์ที่ครอบครองในเมืองโดยจะแบ่งเป็นพื้นที่คอกม้า(Stablespace)(Oxen(วัว) Horses(ม้า) Mules (ล่อ) และพื้นที่เลี้ยงแกะ(Pasturespace)(Sheep(แกะ)และLambs(ลูกแกะ)








10. Number of months before supplies run out = แสดงจำนวนว่าเสบียงและเขื้อเพลิงที่เรามีสามารถใช้งานได้อีกกี่เดือนจนกว่าจะหมด ดังนั้นถ้าค่านี้ต่ำกว่า 6 เดือนเราควรเลิกขยายเมืองเนื่องจากช่วงหน้าหนาวเสบียงและเชื้อเพลิงจะถูกใช้เป็นสองเท่า







11. แสดงชื่อเขตและ Development ซึ่งเป็นการวิจัยเพื่อพัฒนาเมืองของเรา โดยทุกๆการขยายเมืองเราจะได้แต้ม 1 Development หน้า Policies กฏหมายที่เราใช้ในเขตนั้นๆ Trade หน้าที่ใช้สรุปรายรับรายจ่ายของ Regional wealth ในเขตนั้นๆเราสามารถเลือกปรับได้ว่าจะแสดงเป็นรายเดือนหรือรายปี



12. Construction = แสดงจำนวนวัสดุก่อสร้างทั้งหมดในเขตนั้นๆ





















13.Food = แสดงจำนวนอาหารทั้งหมด



14.Fuel = แสดงจำนวนเชื้อเพลิง


15.Crops = แสดงจำนวนผลผลิตทางการเกษตร


16.Crafting materials = แสดงจำนวนวัสดุสำหรับการผลิตสิ่งของ


17.Commodities = แสดงจำนวนของอุปโภคบริโภค


18.Military = แสดงอุปกรณ์ทางการทหารทั้งหมดอาวุธและชุดเกราะ

19.ปรับมุมมองเป็น first person

20.Treasury = จำนวนเงินส่วนตัวของผู้เล่นหาได้จากการเก็บภาษีจาก Regional wealth ของชาวบ้านในเมือง โดยเราสามารถนำ Treasury ในการจ้าง Mercenaries(ทหารรับจ้าง) หรือ Retinue(ทหารประจำการ)

21.Annual royal tax = ผู้เล่นจะต้องจ่ายภาษีให้กับพระราชาทุกๆปี โดยภาษีจะเพิ่มขึ้นตามจำนวนของประชากรที่อาศัยในเมืองของเรา โดยภาษีจะไม่เก็บใน 5 ปีแรก หลังผ่านปีที่ 5 จะเก็บ 1 Tax ต่อ 1 คน หลังผ่านปีที่ 10 จะเก็บ 2 Tax ต่อ 1 คนและหลังจาก 15 ปีจะเก็บ 3 Tax ต่อคน ในแพทช์ (ระบบในอนาคตหากผู้เล่นไม่จ่ายภาษีจะเป็นหนี้พระราชาและจะถูกกองทัพพระราชาโจมตี)

22.Influence = ค่าอำนาจที่ใช้ในการอ้างสิทธิในดินแดนต่างๆสามารถหาค่านี้ได้จากการทำลายค่ายโจรหรือบริจาคอาหารให้โบสถ์

23.King's favor = ค่าความโปรดปรานของราชาในแพทช์ปัจจุบันยังไม่มีลูกเล่นนี้มาใช้
อินเตอร์เฟส 2

ทางด้านล่างจะเป็นคำสั่งในการสร้างสิ่งก่อสร้างและการระดมกองทัพ

-Road = คำสั่งสร้างถนนโดยคลิ๊กที่พื้นที่เพื่อสร้างจุดเริ่มต้นและคลิ๊กอีกครั้งเพื่อสร้างถนน สามารถปรับความโค้งของถนนได้โดยกด Ctrl+ลูกกลิ้งเมาส์ กด Alt เพื่อลบถนน คีย์ลัดคำสั่งกด (R)


-Construction = คำสั่งสร้างสิ่งก่อสร้าง โดยคลิ๊กที่สิ่งก่อสร้างที่ต้องการสร้างและวางในพื้นที่ที่ต้องการสร้าง คีย์ลัดคำสั่งกด (C)


-Army = ใช้เพื่อกดระดมกองทัพหรือเกณฑ์ทหารประเภทต่างๆ คีย์ลัดคำสั่งกด (v) จำเป็นต้องมีอาวุธเพื่อเรียกระดมพล หากคนไม่พอจะเรียกระดมพลคนเท่าที่คนมี โดยทหารจะแบ่งเป็น 3 ประเภท
-Militia กองทหารชาวบ้านจำเป็นต้องมีชาวบ้านตามที่กำหนดและสร้างอาวุธก่อนถึงจะเกณฑ์ได้ สำหรับเกราะยิ่งผู้เล่นสร้างเกราะที่ดีขึ้น status ของ Militia จะยิ่งเก่งขึ้น
-Retinue = กองทหารประจำตัวต้องใช้ Treasury ในการจ้าง การจะเพิ่มกองทหารจาก 12 เป็น 24 สามารถทำได้โดยการสร้าง Garrison tower ที่ Manor ของผู้เล่น

นอกจากนี้เรายังสามารถจ้างทหารรับจ้างได้ที่ Hire mercenary โดยทหารรับจ้างจะเก็บเงินเป็นรายเดือนตามค่าจ้างที่กำหนดไว้

-Map = ใช้ดูแผนที่ของเกมเพื่อสำรวจทรัพยากรหรือดูดินแดนที่ศัตรูยึดครอง คีย์ลัดคำสั่งกด (M)
คีย์ลัดคำสั่งกด (H)
-Setting = ตั้งค่าเกม
วิธีการเล่นเบื้องต้น
สิ่งที่ควรทำในช่วงเริ่มเกม
  • สำรวจทรัพยากร
  • การวางผังเมือง
  • การสร้างสิ่งก่อสร้างต้นเกม
สำรวจทรัพยากร
การดูทรัพยากรในเขตที่เราเริ่มต้นเป็นอะไรที่สำคัญมากๆเพราะจะช่วยให้การวางแผนสร้างเมืองหรือการเล่นในเซฟนั้นๆง่ายขึ้น ในช่วงต้นเกมผู้เล่นควรเริ่มสำรวจแหล่งทรัพยากรต่างๆที่มีในเขตของเราและความอุดมสมบูรณ์ของดิน
ยกตัวอย่าง

ในตอนเริ่มเกมผมเริ่มต้นที่เขต Nussloth ซึ่งมีทรัพยากรแบบ Rich deposit คือ ป่าล่าสัตวและเหมืองหล็กทำให้ผมวางแผนที่จะเล่นเซฟนี้ไปทางการขายอาวุธและหนังสัตว์เพราะมีทรัพยากรสองอย่างให้ใช้เหลือเฟือ


กลับกันเขตนี้ความอุดมสมบูรณ์กลับต่ำมากๆทำให้ไม่สามารถทำฟาร์มอะไรได้เลยแปลว่าในเซฟนี้การผลิคของจากฟาร์มอย่าง Wheat เพื่อทำขนมปัง การผลิต Ale หรือ Flax จะผลิตยากมากๆทำให้ต้องนำเข้าวัตถุดิบแทน ส่วน Development ก็ไม่ไปทางทำฟาร์มแต่ไปด้านอื่นๆแทน เป็นต้น

การวางผังเมือง
รูป
การวางผังเมืองที่ดีจะทำให้การขยายเมืองหรือการขนส่งสินค้าง่ายขึ้น อย่างในช่วงต้นเกมผมแคมป์เริ่มต้นอยู่ทางด้านขวา ผมเลยยอมเสียเวลาย้ายที่อยู่มาตรงกลางแทนเพราะการอยู่ที่เดิมจะมีข้อเสียหลายอย่าง เช่น ต้นไม้ให้ตัดอยู่ไกลแถมยังใกล้แหล่งล่าสัตว์และเบอร์รี่ซึ่งถ้าตัดไม้แถวนั้นจะทำให้แหล่งทรัพยากรเหล่านี้หายไปอย่างถาวร


ดังนั้นการย้ายไปอยู่จุดใหม่ทำให้การขยายเมืองง่ายขึ้นเพราะไม่ต้องทับโซนกับแหล่งทรัพยากรแถมยังมีแหล่งตัดไม้ใกล้ๆอีกด้วย การวางผังเมืองเบื้องต้นสิ่งก่อสร้างที่สำคัญควรอยู่ตรงกลางเมืองเพื่อให้บ้านของประชาชนเข้าถึงสินค้าง่ายขึ้นช่วยเติมเต็มค่า requirement ของชาวเมืองทำให้ประชาชนในเมืองมีความสุขและเพิ่มโอกาศคนย้ายมาอยู่เมืองของเรามากขึ้น

ตัวอย่าง

อย่างเมืองของผมจะเน้นให้ Market Granary Church และ Storehouses อยู่ใจกลางเมืองเพื่อให้การกระจายของสินค้าและค่าศรัทธาง่ายขึ้น ประชากรที่อยู่ตรงกลางเมืองก็จะอัพเกรดบ้านได้ง่ายขึ้นเพราะเข้าถึงสินค้าได้ง่าย หรืออย่างโซนทำงานก็จะแยก Storehouses ที่เก็บวัตถุดิบไว้ต่างหากทำให้ Artisans มาหยิบวัตถุดิบไปแปรรูปง่ายขึ้น



คำแนะนำเพิ่มเติมการที่สิ่งก่อสร้างที่เป็นแหล่งทำงานอยู่ใกล้กันจะทำให้การขนส่งสินค้าหรือการมาทำงานของชาวเมืองสะดวกขึ้น อย่างการตั้ง Storehouse กับ Granary อยู่ใกล้ๆกับแหล่งอุดสาหกรรมจะทำให้พวกเขามาหยิบทรัพยากรเร็วขึ้นหรือการตั้งใกล้ตลาดทำให้พวกเขามาเติมของที่ตลาดเร็วขึ้น
อย่างในภาพ ในโซนการผลิตอาวุธผมได้สร้าง Storehouse ไว้และตั้งค่าให้คนที่ทำงานใน Storehouse อันนี้เก็บเฉพาะ Iron ore และ Iron Slabs ทำให้คนที่ทำงานแถวนี้เข้ามาหยิมวัตถุดิบไปผลิตของเร็วขึ้นนั้นเอง


การสร้างสิ่งก่อสร้างต้นเกม

เมื่อเริ่มเกมเราจะเริ่มโดยมีประชากร 5 ครอบครัวและวัว 1 ตัวเพื่อใช้ในการสร้างสิ่งก่อสร้าง

หลังจากเลือกพื้นที่ที่จะสร้างเมืองแล้วสิ่งก่อสร้างที่ควรสร้างเป็นอย่างแรกคือ Storehouse และ Granary เนื่องจากสิ่งของที่ไม่ได้ถูกเก็บเข้าโกดังและยุ้งฉางจะสามารถถูกทำลายจากสภาพอากาศได้โดย Storehouse จะใช้ในการเก็บสินค้าหรือวัสดุต่างๆในขณะที่ Granary จะใช้ในการเก็บอาหารต่างๆ นอกจากนี้คนที่ทำงานใน Storehouse และ Granary ยังเป็นคนตั้งแผงใน Market หรือตลาดซึ่งเป็นสถานที่ที่ให้ผู้คนเข้าถึงสินค้าต่างๆในเกมอย่าง อาหาร ฟืน หรืออาวุธต่างๆอีกด้วย โดยตลาดถือเป็นสิ่งสำคัญมากๆเพราะถ้าผู้คนไม่สามารถเข้าถึงสิ่งของได้จะทำให้ค่า approval ลดลงและยังเติมเต็มค่า requirements ได้ยากทำให้การอัพเกรดบ้านทำได้ยากขึ้น


ดังนั้นการตั้ง Market จึงควรตั้งอยู่ใจกลางเมืองเพื่อให้การกระจายสิ่งของต่างๆง่ายขึ้นนั้นเอง ในกรณีที่ตลาดเต็มจะสร้างตลาดเพิ่มหรือเพิ่มคนงานใน Granary หรือ Storehouse ก็ได้เหมือนกัน ตลาดควรอยู่ใกล้กับ Market เพื่อให้คนที่ทำงานในสอง Granary กับ Storehouse มาเติมสินค้าในตลาดง่ายขึ้นทำให้สินค้าไม่ขาดแคลน


หลังจากสร้างสิ่งก่อสร้างเหล่านี้แล้วสิ่งสำคัญต่อมาคือ Logging camp และ Woodcutter's lodge โดย Logging camp จะใช้ในการตัดไม้มาทำ timber(ท่อนไม้) โดยท่อนไม้จะเป็นวัสดุหลักใช้ในการสร้างสิ่งก่อสร้างต่างๆในเกม แต่การจะเก็บท่อนไม่มาที่ Logging camp จำเป็นต้องใช้วัวในการลากมาเก็บซึ่งจะทำให้วัวที่มี 1 ตัวถูกใช้เยอะไปทั้ดังนั้นควรใช้ซื้อวัวเพิ่มอีกตัวเพื่อไม่ให้กระทบกับการก่อสร้างนั้นเอง
ส่วน Woodcutter's lodge จะใช้ต้นไม้ในการทำ firewood(ฟืน) โดยฟืนเป็นทรัพยากรหลักในเกมทั้งใช้เป็นเชื้อเพลิงในการอยู่อาศัยและใช้ในการทำอุตสาหกรรมต่างๆอีกด้วย หลังจากมีท่อนไม้แล้วต่อไปจึงเป็นการสร้างบ้านโดยการสร้างให้ครบ 5 หลัง หลังจากครบ 5 หลังแล้วเมืองจะเลื่อนขั้นเป็น small village และทำให้เราได้แต้ม Development สำหรับการพัฒนาเมือง


ในการเลื่อนขั้นเมืองขั้นต่อไปเป็น Medium village จำเป็นต้องเลื่อนขั้นบ้านของชาวบ้านให้เป็นเลเวลสอง สำหรับการอัพเลเวลบ้านจำเป็นต้องทำให้ค่า Requirements ของบ้านเต็มจึงจะสามารถอัพเกรดได้นั้นเอง
Resource deposits(แหล่งทรัพยากร)

แหล่งทรัพยากร
ในแผนที่จะมีแหล่งทรัพยากรต่างๆไม่ซ้ำกันแต่ละแหล่งทรัพยากรจะให้ผลผลิตต่างๆที่ต่างกันและทุกๆพื้นที่จะมีแหล่งทรัพยากรพิเศษที่เรียกว่า Rich deposits ซึ่งจะเป็นแหล่งทรัพยากรที่ผู้เล่นสามารถเก็บทรัพยากรต่างๆได้มากขึ้นและการอัพ Developments บางอันก็จะเสริมบัพให้กับ Rich deposits อีกด้วยอย่าง Development Deep mining ที่จะทำให้เหมืองที่เป็น Rich deposits นั้นไม่มีวันหมดได้ โดยทรัพยากรในเกมจะมีดังนี้

Wild Animal - แหล่งล่าสัตว์ป่าใช้สำหรับหา Meat(เนื้อสัตว์)(อาหาร) และ Hide(หนังสัตว์ไม่แปรรูป)(วัตถุดิบ) การสร้างสิ่งก่อสร้างหรือการตัดไม้ล้ำเข้าไปในแหล่งสัตว์ป่าจะทำให้แหล่งทรัพยากรนี้หายไป ทำให้ต้องระวังในการสร้างสิ่งก่อสร้างไม่ให้ไปรบกวนพื้นที่ตรงนี้หรือเลี่ยงที่จะสร้างสิ่งก่อสร้างตรงนี้ไปเลย
Berry - แหล่งเบอร์รี่ ใช้สำหรับเก็บ Berries ซึ่งเป็นอาหารและ Herbs(สมุนไพร) ไว้ใช้รักษาคนป่วย การตัดไม้ไปทำลายแหล่งเบอร์รี่จะทำให้ทรัพยากรนี้หายไป เบอร์รี่จะเก็บตามฤดูกาลเมื่อถึงฤดูใบไม้ล่วงจนถึงฤดูหนาวจะไม่เบอร์รี่จะไม่สามารถเติบโตได้
Stone - ใช้สำหรับการก่อสร้าง เป็นแหล่งทรัพยากรที่เก็บแล้วจะหมดไป
Clay - ใช้สำหรับการก่อสร้างเป็นแหล่งทรัพยากรที่เก็บแล้วจะหมดไปเว้นแต่ถ้าเป็นแหล่ง Rich deposits แล้วอัพ Deep mining เพื่อเก็บดินเหนียวไม่จำกัด ดินเหนียวจะถูกใช้แปรรูปเป็น Roof Tiles(กระเบื้องหลังคา)
Iron - ใช้สำหรับการก่อสร้างเป็นแหล่งทรัพยากรที่เก็บแล้วจะหมดไปเว้นแต่ถ้าเป็นแหล่ง Rich deposits แล้วอัพ Deep mining เพื่อเก็บแร่ไม่จำกัด แร่เหล็กใช้สำหรับทำ Iron slabs เพื่อสร้าง Tools หรือ อุปกรณ์อาวุธต่างๆ
Shoal of fish - ใช้สำหรับตกปลา เพื่อเป็นอาหาร
Salt - ใช้สำหรับขุดเกลือ เกลือไว้ใช้ทำไส้กรอก ซึ่งเป็นอาหารที่สามารถเก็บได้ยาวนานกว่า


การเพิ่มประชากรในเมือง

การเพิ่มประชากรใน Manor lord จะอิงจากค่า Approval หรือ ค่าความพึงพอใจ หากค่าสูงพอจะเพิ่มโอกาศที่คนจะย้ายมาอยู่เมืองของเรามากขึ้น


สามารถเช็คได้ที่ population จะมีการบอกเสมอว่าการเติบโตของประชาชนมากน้อยเท่าไหร่ ชาวเมืองจะย้ายมาอยู่ในบ้านที่ว่างอยู่ดังนั้นอย่าลืมสร้างบ้านหลังใหม่เพื่อรองรับชาวบ้านที่กำลังจะย้ายมาอยู่ที่เมืองของผู้เล่น
ค่า Approval จะเพิ่มขึ้นและลดลงตลอดเวลาขึ้นอยู่กับปัจจัยดังนี้
สิ่งที่เพิ่ม
+Market clothing variety มีเสื้อผ้าหลากหลายในตลาด
+Market food variety มีอาหารหลากหลายในตลาด
+Chruch level สร้างโบสถ์
สิ่งที่ลด
-Homelessness หรือประชากรของเราไม่มีที่อยู่อาศัย
-Taxation การเก็บภาษีหากเก็บภาษีมากเกินไปจะทำให้ค่าความพึงพอใจของชาวเมืองลดลง
-Lack of entertainment หรือการขาดสิ่งบันเทิง จะเกิดขึ้นกับบ้านเลเวล 2 หรือ 3 หากพวกเขาไม่มี Ale หรือ เบียร์จากโรงเตี้ยม (บ้านเลเวล 2 ขาดสิ่งบันเทิง จะไม่ส่งผลมาก ต่างจากบ้านเลเวล 3 ที่ขาดแล้วจะส่งผลต่อค่า Approval มากๆ)
การเคลมดินแดน

การยึดพื้นที่อื่นในเกมโดยสามารถยึดได้โดยใช้แต้ม Influence ในการยึด โดยดินที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของจะใช้ 1,000 Influence และ 2000


สำหรับดินแดนที่มีเจ้าของ หากเราเคลมดินแดนที่มีเจ้าของจะมีการประกาศศึกกัน(กรณีที่เราโดนยึดพื้นที่เหมือนกัน)โดยเกมจะแจ้งพื้นที่สำหรับการรบ หากทหารของเราตายหรือหนีออกจากพื้นที่การรบทั้งหมดเราจะเสียดินแดนทันที Influence สามารถหาได้จากการทำลายแคมป์โจรหรือการสู้กับโจรและทหารจากลอร์ดฝ่ายตรงข้าม


อีกวิธีคือการ Tithe บริจาคอาหารให้โบสถ์ที่ Manor บ้านของลอร์ดของเมืองเพื่อรับ Influence เล็กน้อย
สิ่งก่อสร้างต่างๆ 1
อธิบายการทำงานสิ่งก่อสร้างต่างๆ

1.Gathering building(สิ่งก่อสร้างเก็บของธรรมชาติ)
1.1.Logging camp = โรงตัดไม้เพื่อตัดไม้นำไปสร้างสิ่งก่อสร้างต่างๆ หลังจากการตัดไม้จำเป็นต้องใช้วัวในการลาก Timber(ท่อนไม้)ไปเก็บ ดังนั้นควรมีวัวว่างไว้เพื่อความสะดวกในกาลเคลื่อนย้ายท่อนไม้
1.2. Woodcutter's Lodge = โรงตัดฟืนใช้สำหรับตัดไม้เพื่อทำเป็น Firewood(ฟืน)เพื่อใช้เป็น Fuel(เชื้อเพลิง)ประจำเมือง
1.3. Sawpit = โรงเลื่อยไม้ ใช้ Timber(ท่อนไม้)ในการผลิต Plank(ไม้กระดาน)เพื่ออัปเกรดหรือสร้างสิ่งก่อสร้าง Sawpit สามารถตั้งค่าให้ลิมิตการนำท่อนไม้ไปแปรรูปได้ใช้ เช่น ถ้าเราตั้งค่าสำรอง Timber(ท่อนไม้) 7 ท่อน Sawpit จะไม่ผลิตไม้กระดานจนกว่าเราจะมีท่อนไม้ 7 ท่อนในคลัง
1.4. Forester's Hut = อาคารปลูกต้นไม้จำเป็นต้องกำหนดพื้นที่ Area ใน Advance เพื่อให้คนงานปลูกต้นไม้ตามในพื้นที่ที่กำหนด
1.5. Charcoal Kiln = ต้องปลดล็อคใน Development โรงเผาถ่านใช้ผลิตถ่าน Charcoal(ถ่าน)จะใช้ Firewood(ฟืน) ในการผลิต โดย Firewood 1 อันจะผลิต Charcoal ได้ 2 อัน นอกจากนี้ Charcoal ยังมีประสิทธิภาพดีกว่า Firewood สองเท่า
1.6. Hunting Camp = แคมป์ล่าสัตว์ใช้สำหรับการหา Meat(เนื้อสัตว์)และ Hide(หนังสัตว์ที่ยังไม่แปรรูป) Hunting camp สามารถตั้งค่าให้ลิมิตจำนวนสัตว์ที่ล่าได้ นายพรานจะหยุดล่าสัตว์เมื่อจำนวนถึงจำนวนจำกัดที่ตั้งไว้ เช่น เราจำกัดการล่า 5 ตัว เมื่อสัตว์เหลือ 5 ตัวนายพรานจะหยุดล่าจนกว่าสัตว์จะเติบโตอีกครั้ง
1.7. Forager Hut = โรงเก็บเบอร์รี่ใช้ในการเก็บเบอร์รี่สำหรับเป็นอาหารและทำเป็น Dyer(สีย้อมผ้า) นอกจากนี้ยังใช้ในการเก็บสมุนไพรเพื่อนักษาคนป่วย(คนป่วยจะพักจากการทำงานจนกว่าจะหายดี)
1.8. Fisherman's hut = บ้านชาวประมง ใช้สำหรับตกปลาเป็นอาหารที่ Sheol of fish การตกปลาจะทำในหน้าหนาวไม่ได้
1.9. Apiary = ต้องปลดล็อคใน Development ใช้สำหรับเก็บน้ำผึ้งเพื่อเป็นอาหารให้กับเมือง น้ำผึ้งจะจำกัดการสร้างได้แค่สองอันต่อดินแดน

2. Mining building(สิ่งก่อสร้างสำหรับขุดเหมือง)
2.1. Stonecutter Camp = ใช้สำหรับเก็บหิน การวางใกล้ๆ(แหล่งกำเนิดหิน)จะช่วยให้เก็บไวขึ้น
2.2. Minning Pit = เหมืองจำเป็นต้องวางบนแหล่งกำเนิดแร่เท่านั้น ใช้เพื่อขุด Iron ore(แร่เหล็ก) และ Cray(ดินเหนียว) เพื่อใช้สำหรับการแปรรูปเป็นวัสดุต่างๆ นอกจากนี้ยังสามารถอัปเกรดเหมืองเป็น Deep Minning ซึ่งจะทำให้ขุดแร่ได้ไม่มีวันหมดใน Rich deposit(แหล่งทรัพยากรอุดมสมบูรณ์(ทรัพยากรที่มีมงกุฏอยู่บนหัว)

3. Logistics buildings(อาคารเก็บสินค้า)
3.1. Granary = ยุ้งฉางใช้สำหรับเก็บทรัพยากรอาหารต่างๆ ผู้เล่นสามารถกำหนดสิ่งของที่สามารถเก็บหรือไม่เก็บในยุ้งฉางได้ ยุ้งฉางสามารถอัปเกรดเพื่อเพิ่มความจุและจำนวนคนงานได้
3.2. Storehouse = คลังสินค้าใช้สำหรับเก็บวัสดุต่างๆ เช่น วัสดุสำหรับการก่อสร้าง อุปกรณ์ทางทหาร วัสดุที่ใช้ในการแปรรูป สามารถกำหนดสิ่งของที่จะเก็บได้เหมือน Granary คลังสินค้าอัปเกรดเพื่อเพิ่มความจุและจำนวนคนงานได้
3.3. Packstation = ใช้สำหรับส่งทรัพยากรไปให้อีกเมือง โดยจำนวนของที่แลกจะอิงจากราคาของสิ่งของนั้นๆเช่น ถ้าขนมปังราคา 7 บาทต่อชิ้นแลกกับดาบราคา 14 บาทต่อเล่ม จะต้องใช้ขนมปัง 2 ชิ้นเพื่อแลกดาบ 1 เล่ม Packstation ไม่จำเป็นต้องวางสองเมืองวางไว้แค่เมืองเดียวก็สามารถแลกเปลี่ยนของได้ทุกที่อย่างเมือง A ต้องการแลกสินค้ากับเมือง B ก็วาง Packstation แค่เมือง A ทั้งสองเมืองก็คนงานใน Packstation ของที่เมือง A จะส่งสินค้าไปเก็บที่ Storehouse และ Granary ของเมือง B โดยถ้าอยากส่งของมากขึ้นให้ซื้อลามาช่วยขนของได้
3.4. Hitching post = เสาผูกใช้เป็นที่อยู่ของวัว ม้าและล่อ สามารถอัปเกรดเป็นคอกสัตว์เพื่อเพิ่มความจุของจำนวนสัตว์ได้ หากคอกไม่พอต่อจำนวนสัตว์ที่มีในเมืองสัตว์จะหนีออกจากเมืองไป

4. Residential building(สิ่งก่อสร้างสำหรับที่พักอาศัย)
4.1. Burgage Plots = การวางที่ดินผู้เล่นสามารถวางที่ดินได้อย่างอิสระ โดยที่ดินหนึ่งแปลงสามารถสร้างบ้านสูงสุดได้ 2 หลังและสามารถอัปเกรดบ้านได้สามเลเวล นอกจากนี้หากวางที่ดินใหญ่พอชาวบ้านจะมีที่ดินสำหรับทำ Backyard(สวนหลังบ้าน)เพื่อปลูกผักสวนครัวหรือการเปลี่ยนให้ชาวบ้านให้เป็นช่างฝีมือซึ่งจะทำงานเฉพาะไปเลย เช่น โรงอบขนมปัง โรงตีเหล็ก โรงทอผ้า โรงทำเบียร์ เป็นต้น
4.2. Well = บ่อน้ำใช้สำหรับบริโภคและใช้ดับไฟในกรณีเกิดไฟไหม้
4.3.Market = สร้างพื้นที่นึงเพื่อกระจายสินค้า ตลาดใช้สำหรับการกระจายสินค้าต่างๆ(อาหาร ฟืน เครื่องนุ่งห่ม)จากบ้านที่ผลิตได้ ยุ้งฉางหรือคลังเก็บสินค้าให้ชาวบ้านใช้บริโภคช่วยเพิ่มความพึงพอใจให้กับชาวบ้าน หากชาวบ้านไม่สามารถเข้าถึงตลาดหรือการกระจายสินค้าไม่ทั่วถึงจะทำให้ค่าความพึงพอใจลดลง ตลาดควรสร้างให้ใกล้กับยุ้งฉางและคลังสินค้าเพื่อให้การเติมสินค้าง่ายขึ้น
4.4. Firewood cart = ต้องปลดล็อคจาการวิจัย ใช้ 1 Regional Wealth ซื้อฟืน 1 อันแบบอัตโนมัติ ถ้าค่า Regional Wealth สูงมากพอเราจะได้ฟืนแบบฟรีๆ
4.5. Food cart = ต้องปลดล็อคจาการวิจัย ใช้ 4 Regional Wealth ซื้อขนมปังแบบอัตโนมัติ ถ้าค่า Regional Wealth สูงมากพอเราจะได้ขนมปังแบบฟรีๆ
4.6. Travern = โรงเตี้ยมใช้สร้างความบันเทิงให้กับเมืองเพื่อเพิ่มความพึวพอใจให้กับเมืองและทำให้บ้านเลเวล 2 เลื่อนขั้นเป็นเลเวล 3 โดยต้องใช้เหล้า Ale ในการเปิดโรงเตี้ยม
4.7. Wood Church = โบสถ์ใช้เพื่อเพิ่มค่าศรัทธาให้กับชาวเมืองและใช้ฝังศพชาวบ้านที่ตายในดินแดนของเรา โบสถ์สามารถอัปเกรดเพื่อใช้เพิ่มความศรัทธาให้กับบ้านเลเวลสองขึ้นไป หากเราไม่ฝังศพจะทำให้ความพอใจของชาวบ้านลดลง
4.8. Crops pit = ที่ฝังศพศัตรูที่ตายในดินแดนของเรา หากเราไม่ฝังศพจะทำให้ความพอใจของชาวบ้านลดลง

Farming Buildings(สิ่งก่อสร้างสำหรับทำฟาร์ม)
5.1. Field = การวางไร่นาใช้สำหรับทำฟาร์มโดยปัจจุบันสามารถปลูกพืชได้ 4 ชนิด
Wheat(ข้าวสารี)และRye(ข้าวไรซ์)ใช้ทำแป้งเพื่อทำขนมปัง
Barley(ข้าวบาร์เล่ย์) ใช้สำหรับทำ Malt(มอลต์)เพื่อไปแปรรูปเป็นเบียร์ Ale
Flax(แฟล็ก) ใช้สำหรับแปรรูปเป็นผ้าลินนินเพื่อนำไปคราฟเป็นเสื้อผ้าต่างๆ
การทำไร่จำเป็นต้องดูความอุดมสมบูรณ์ของดินซึ่งพืชแต่ละชนิดก็จะใช้ความอุดสมบูรณ์ของดินที่แตกต่างกันโดยสามารถดูได้ที่ Overlay การทำไร่ไม่ควรสร้างเกิน 1 Morgen หากทำไร่ใหญ่เกินไปจะทำให้ชาวบ้านพรวนดินและหว่านเมล็ดไม่ทัน
5.2. Farmhouse = ใช้สำหรับใส่คนงานเพื่อให้พวกเขาทำฟาร์มและสีข้าวให้เป็น Grain(เมล็ดข้าว) สามารถอัปเกรด Farmhouse เพื่อใช้วัวในการไถนาได้โดยสามารถใส่วัวได้สูงสุด 2 ตัว
5.3. Pasture = คอกสัตว์ ใช้สำหรับใส่แกะและลูกแกะ หากคอกสัตว์ไม่สามารถจุจำนวนแกะทั้งหมดได้แกะจะหนีออกจากเมืองไป
5.4. Sheep Farm = ใช้สำหรับเลี้ยงดูแกะและใช้ตัดขนแกะเพื่อไปแปรรูปเป็นเส้นด้าย
5.4. Windmill = กังหันลมใช้สำหรับแปรรูปเมล็ดข้าวเป็นแป้ง กังหันลมจะทำงานเต็มที่เมื่อไม่มีอะไรมาขวางด้านหน้ากังหันลม
5.5. Communal Oven = โรงอบขนมปังใช้สำหรับการแปรรูปแป้งให้กลายเป็นขนมปัง
สิ่งก่อสร้าง 2

6. Industries(สิ่งก่อสร้างสำหรับแปรรูป)
6.1. Bloomery = โรงเผาเหล็กใช้สำหรับแปรรูป Iron ore(แร่เหล็ก) ให้กลายเป็น Iron Slabs แผ่นเหล็กเพื่อนำไปสร้างอาวุธต่างๆ
6.2. Smithy = โรงตีเหล็กใช้สำหรับสร้าง Tool(อุปกรณ์ช่าง(แพตช์ 0.7.792 Tool ยังไม่มีระบบไว้ใช้งาน)
6.3. Clay France = โรงเผาดินใช้สำหรับเผา Clay ดินเหนียวให้กลายเป็น Roof กระเบื้อง เพื่อนำไปสร้างสิ่งก่อ
6.4. Malthouse = ใช้สำหรับแปรรูป Barley(ข้าวบาร์เล่ย์) ให้เป็น Malt สามารถนำ Malt ไปแปรรูปเป็นเบียร์ Ale ได้
6.5. Tanney = ใช้สำหรับแปรรูป Hide(หนังสัตว์ที่ยังไม่แปรรูป) ให้กลายเป็น Leather(หนังแปรรูป) โดย Leather ใช้เป็นเครื่องนุ่งห่มซึ่งช่วยเพิ่มความพึงพอใจให้ชาวบ้านมากขึ้น
6.6. Weaver’s workshop = ใช้แปรรูป Wool(ขนแกะ)เป็น Yarn(เส้นด้าย)และแปรรูป Flax เป็น Linen(ผ้าลินนิน) เส้นด้ายและผ้าลินนินสามารถใช้เป็นเครื่องนุ่งห่มได้เหมือน Leather
6.7. Dyer's Workshop = โรงย้อมผ้าใช้เบอร์ลี่แปรรูปเป็น Dye สีย้อมผ้าโดยสีย้อมผ้าใช้ในโรงทอผ้าเพื่อใช้ผลิตเสื้อผ้าต่างๆ

7. Trading building
7.1. Trading Post = ใช้สำหรับซื้อขายสิ่งของจาก ทั่วโลก โดยสินค้าจะแบ่งเป็นสองระดับ ระดับ Minor trade ซึ่งสามารถซื้อขายได้เลยและ Major trade จำเป็นต้องจ่ายเงินเพื่อเปิดเส้นทางการค้าเพื่อให้ทำการค้าขายได้ นอกจากนี้เรายังสามารถส่งสินค้าไปขายเมืองอื่นๆของเราได้โดยราคาของสินค้าจะถูกกว่าราคาตลาดโลก
7.2. Livestock Trading Post = ร้านซื้อขายสัตว์ใช้สำหรับซื้อขายสัตว์ เพื่อนำมาเลี้ยงหรือใช้งานในเมือง
สัตว์มีทั้งหมด 5 แบบ
-Oxen วัวสามารถซื้อได้ผ่านที่ผูกวัวหรือร้านซื้อขายสัตว์ วัวใช้สำหรับการลากท่อนซุงเพื่อใช้ก่อสร้างหรือการตัดไม้และไถนา
-Mules ล่อใช้สำหรับ Pack station ในการขนสินค้าแลกเปลี่ยนระหว่างเมือง โดยล่อจะช่วยให้คนของส่งได้มากขึ้น
-House ม้าสามารถซื้อได้จากที่ผูกเสา โดยม้าใช้ขนของใช้สำหรับ Trading Post เพื่อเพิ่มความจุสินค้าที่ไปขายให้เยอะขึ้น
-Sheep แกะใช้ผลิต Wool ขนสัตว์เพื่อนำไปแปรรูปเป็นเส้นด้าย
-Lamb ลูกแกะรอโตเป็นแกะ

8.2.Administration Building
-Settlers Camp ใช้สำหรับสร้างเมืองในดินแดนใหม่โดยต้องใช้ Treasury ในการจ่ายโดยมีตั้งแต่ 250 500 และ 750 Treasury โดยยิ่งจ่ายเยอะเราจะได้ทรัพยากรสำหรับเมืองใหใเพิ่มขึ้น
-Manor บ้านพักของลอร์ด ใช้เพื่อเก็บภาษีโดยภาษีจะเก็บจาก Regional Wealth ของชาวเมืองมาเปลี่ยนเป็น Treasury ของเรา การเก็บภาษีที่มากเกินไปจะทำให้ความพอใจของชาวเมืองลดลง นอกจากนี้ Manor ยังใช้สร้าง Retinue(ทหารประจำตัว) โดยตัวบ้านสามารถสร้างสิ่งก่อสร้างเพิ่มเติมได้ เช่น ป้อมทหารเพื่อเพิ่มขีดจำกัดทหารจาก 12 เป็น 24 หรือการสร้างกำแพงป้องกันบ้านของลอร์ด เป็นต้น
อินเตอร์เฟสสิ่งก่อสร้าง
อินเตอร์เฟสสิ่งก่อสร้าง
รูป
Buragae plot หรือ แปลงที่ดินในการวาง Burage plot จะเป็นการสร้างที่ดินสำหรับการสร้างบ้านให้กับชาวเมืองของเรา หากเราวางที่ดินกว้างมากพอบ้านหลังนั้นๆจะสามารถสร้าง Backyard หรือ สวนหลังบ้านได้
เมื่อสร้างเสร็จแล้วจะมีอินเตอร์เฟสดังนี้


Residential(ที่อยู่อาศัย) จะแสดงความต้องการสำหรับการอยู่อาศัยของชาวเมือง โดยสามารถดูได้จาก Requirements ซึ่งจะแบ่งออกเป็นสามหัวข้อย่อย คือ
Amenities หรือ สิ่งอำนวยความสะดวก โดยจะมี Water Access การเข้าถึงบ่อน้ำและ Church level การเข้าถึงโบสถ์
Market Availability หรือ การเข้าถึงตลาด โดยจะมี Fuel Stall Supply แหล่งเชื้อเพลิงในตลาด
Food Stall Supply แหล่งอาหารในตลาด
Clothing Stall Supply แหล่งเสื้อผ้าในตลาด
อย่างสุดท้ายคือ Armaments ที่จะแสดงอาวุธต่างๆที่บ้านนี้มี

General จะแสดงข้อมูลทั่วไปอย่างการใช้เชื้อเพลิงและสิ่งของที่เก็บอยู่ในบ้าน
Refueled จะแสดงสิ่งก่อสร้างที่จำเป็นต้องใช้เชื้อเพลิงในการอยู่อาศัยหรือการทำงาน
Generic Storage พื้นที่เก็บของทั่วไป
Pantry ที่เก็บอาหาร

People จะแสดงหน้าต่างว่าชาวเมืองคนนั้นๆกำลังทำงานอะไรอยู่หรืองานที่กำลังทำในขณะนี้
Show workplace เมื่อกดจะพาผู้เล่นไปยังสถานที่ที่ครอบครัวนี้ทำงานอยู่
Rassing family to a different workplace เมื่อกดจะเป็นการเปลี่ยนงานของครอบครัวนั้นๆ หลังกดแล้วให้คลิิ๊กที่สถานที่ทำงานอันใหม่ที่ต้องการจะเปลี่ยนกับอันเดิม อย่างถ้าผมต้องการเปลี่ยนให้ครอบครัวนี้จาก Woodcutter ไป Granary ก็ให้คลิ๊กที่ปุ่มนี้แล้วคลิ๊กอีกครั้งที่ Granary

Advanced ของทุกสิ่งก่อสร้างจะต่างกันเล็กน้อย
สำหรับสิ่งก่อสร้างที่ใช้เก็บทรัพยากร อย่าง Hunting camp, Logging camp, Forester's hut และ Woodcutter's lodge จะสามารถกำหนด Limited work area เพื่อกำหนดพื้นที่ในการทำงานได้ โดยเฉพาะพวกสิ่งก่อสร้างที่ต้องตัดไม้การกำหนดพื้นที่จะช่วยให้ขอบเขตการทำงานดีขึ้นไม่ไปตัดไม้ในที่ไกลๆหรือที่สำคัญ ถ้าไม่กำหนดคนงานอาจะไปตัดไม้โดนต้นเบอร์รี่หรือแหล่งล่าสัตว์ซึ่งจะทำให้ทรัพยากรนั้นหายไปอย่างถาวร

Livestock สิ่งก่อสร้างบางอย่างจะต้องใช้สัตว์ในการทำงานอย่าง Logging camp ที่ต้องใช้วัวลากท่อนไม้มาเก็บหรือ Trading post ที่ต้องใช้ม้าในการขนของไปขาย การ Premanent livestock assignment จะเป็นการให้สัตว์ตัวนั้นๆทำงานที่นั้นอย่างเดียว อย่างการใช้วัวในการทำงานปรกติวัวต้องใช้ในการสร้างสิ่งก่อสร้างด้วยการติ๊กตรงนี้จะเป็นการสั่งให้วัวมาทำงานขนไม้ที่ Logging camp อย่างเดียวนั้นเอง แต่ถ้ากด Permanent ให้สัตว์ทุกๆที่อาจจะทำให้ขาดวัวไปใช้ในการสร้างสิ่งก่อสร้างอื่นๆได้

Reserve สิ่งก่อสร้างที่ผลิตของต่างๆ อย่าง Sawpit หรือ Bloomery สามารถกด Reserve เพื่อสำรองวัตถุดิบได้เมื่อวัตถุดิบด่ำกว่าที่เราใส่เลขไว้ อย่าง Sawpit ถ้ากด reserve ไว้เมื่อท่อนไม้ต่ำกว่าที่กำหนดจะหยุดผลิตแผ่นไม้นั้นเอง
Development

-Development
คือการปลดล็อคเทคโนโลยีหรือสิ่งก่อสร้างใหม่ๆมาใช้เฉพาะเมืองที่ได้รับแต้ม Development ปัจจุบัน Development แบ่งเป็นสี่ด้านหลักๆ 1.ด้านการทำฟาร์ม 2.ด้านการค้า 3.ด้านการเก็บของป่า 4. ด้านการตีเหล็กและการขุดเหมือง


1.ด้านการทำฟาร์ม
1.1. Orchardry = สามารถสร้างสวนแอปเปิลที่สวนหลังบ้าน โดยแอปเปิลจะใช้เวลาโต 3 ปีและจะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้แค่ช่วงกันยายนของทุกๆปี
1.2. Sheepbreeding = ทำให้สามารถเพาะพันธ์ุแกะได้
1.3. Heavy Plow = ทำให้สามารถใช้วัวในการไถดินได้
1.4. Rye Cultivation = สามารถปลูกข้าว Rye ได้ ข้าว Rye สามารถปลูกในพื้นที่ดินแห้งแล้งได้
1.5. Irrigation = ช่วยให้การเพาะปลูกทนภัยแล้งมากขึ้น
1.6. Fertilization = สามารถนำแกะมาเลี้ยงใน field ได้ช่วยฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดินอย่างรวดเร็ว
1.7. Bakeries = สามารถสร้างโรงอบขนมปังที่สวนหลังบ้าน โดยจะผลิตขนมปังมากกว่าโรงอบขนมปังปรกติเพิ่มขึ้นเป็น 2 ชิ้น


2.ด้านการค้า
2.1. Foreign Suppliers = ทำให้สามารถสร้าง Firewood cart and food cart ได้ที่ market โดยรถเข็นสองอันนี้จะ import ฟืนและขนมปังมาเรื่อยๆโดยจะเก็บเงินจาก regional wealth ของเราแบบอัติโนมัติ
2.2. Trade Logistics = ลดราคาการเปิดเส้นทางการค้าครึ่งนึง
2.3. Better Deals = ลดราคาการนำเข้าสินค้า 5 บาท


3.ด้านการเก็บของป่า
3.1. Trapping = วางกับดักในป่าช่วยให้ได้เนื้อแบบ passive income
3.2. Advance pounding = ทำให้ตกปลาในฤดูหนาวได้ เพิ่มความจุของบ่อปลาเป็นสองเท่า
3.2. Advanced Skinning = ได้รับเนื้อจากการล่าสัตว์ โรงเชือดสัตว์ การเลี้ยงสัตว์หลังบ้านเพิ่มเป็นสองเท่า
3.3. Pelt Extraction = ได้รับหนังจากกับดักเพิ่ม
3.4. Forest Management = เพิ่มขีดจำกัดของเบอร์รี่ในป่าเป็นสองเท่า
3.5. Beekeeping = ทำให้เราสามารถเก็บน้ำผึ้งได้
3.6. Advanced Beekeeping = ทำให้เราสามารถเก็บขี้ผึ้งใน Apiary ได้


4.1. Charcoal Burning = สามารถผลิตถ่านได้โดยถ่านจะมีประสิทธิภาพมากกว่าฟืนทั่วไป
4.2. Deep Mining = ทำให้เหมือนแร่หรือดินเหนียวที่เป็น rich deposit(เหมืองที่มีรูปมงกุฏ)สามารถขุดหมืองได้แบบไม่จำกัด
4.3. Basic Armormaking = สามารถสร้างโรงตีหมวกเหล็กที่สวนหลังบ้านได้ ช่วยเพิ่มพลังป้องกันให้ทหารชาวบ้าน
4.4. Advanced Armormaking = สามารถสร้างเกาะโซ่ที่สวนหลังบ้านได้ ช่วยเพิ่มพลังป้องกันให้ทหารชาวบ้าน
4.5. Master Armormaking = สามารถสร้างเกราะแพลทไว้ให้ retinue อัพเกรดเกราะได้


Political คือนโยบายการอยู่อาศัย ปัจจุบัน 0.7.975 มีนโยบายสองอันให้เลือก
1. Hunting Grounds ทำให้สัตว์ในป่าเฉพาะ Rich Deposits โตเร็วขึ้นเป็นสองเท่าแต่ทำให้ผลผลิตจากการทำฟาร์มเติบโตช้าลง 50%
2.Strict Fasting สั่งให้ชาวบ้านอดข้าวหนึ่งมื้อทำให้ประหยัดการบริโภคอาหารในเมือง แต่ทำให้ความพึงพอใจของชาวเมืองลดลง
Backyard สวนหลังบ้าน

Backyard หรือสวนหลังบ้านเป็นสิ่งก่อสร้างพิเศษที่สร้างได้ในที่ดินของชาวบ้าน โดยสวนหลังบ้านจำเป็นต้องใช้ Regional Wealth ในการสร้างโดยการทำสวนหลังบ้านจะแบ่งเป็นสองแบบ แบบแรกสร้างในบ้านเลเวล 1 โดยชาวบ้านยังสามารถไปช่วยงานต่างๆที่เรามอบหมายได้และแบบสองที่สร้างได้เฉพาะบ้านเลเวล 2 ขึ้นไปซึ่งจะเปลี่ยนชาวบ้านเป็น Artisans ช่างฝีมือซึ่งจะทำให้พวกเขาไม่สามารถไปทำงานอย่างอื่นได้อีก


-ส่วนหลังบ้านเภทแรก
อัพได้ในบ้านเลเวล 1 คนงานสามารถไปทำงานอย่างอื่นได้
+Vegetable Garden การปลูกผัก สร้างสวนผักในสวนหลังบ้านของชาวเมืองโดยผลผลิตของผักจะเพิ่มขึ้นตามขนาดของแปลงที่เราได้สร้าง ข้อดีของการปลูกผักคือผักจะโตง่ายกว่าการทำฟาร์มปลูกข้าวเพื่อทำขนมปังทำให้เมืองมีอาหารกินตลอดเวลาและทำให้เมืองมีการบริโภคอาหารหลากหลายขึ้นทำให้เราสามารถอัพเกรดบ้านของชาวเมืองได้ง่าย ส่วนข้อเสียของการปลูกผักจะมีอยู่อย่างเดียวคือในบางครั้งชาวเมืองอาจจะยุ่งเกี่ยวกับการทำสวนทำให้บางครั้งพวกชาวเมืองจะทำงานช้าหรือไม่ค่อยมาทำงานที่เรามอบหมายไว้เท่าไหร่

+Apple Orchard การปลูกแอปเปิ้ล สร้างสวนแอปเปิ้ลในส่วนหลังบ้านของชาวเมืองโดยผลผลิตของ Apple จะเพิ่มขึ้นตามขายของแปลงที่ดินที่เราได้สร้าง โดย Apple จะใช้เวลาในการโต 3 ปีในระหว่างที่แอปเปิ้ลกำลังโตจะให้ผลผลิตที่น้อยนอกจากนี้ Apple จะเก็บผลผลิตได้แค่เดือนกันยายนของทุกปีเท่านั้น ข้อดีของ Apple จะคล้ายกับการปลูกผักคือเป็นการสร้างอาหารให้ในเมืองมีหลายประเภทมากขึ้น ข้อเสียการปลูกแอปเปิ้ล จะคล้ายกับการปลูกผักถ้าอยู่ในช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิตชาวเมืองอาจจะไม่ว่างมาทำงานที่เรามอบหมายเอาไว้ แต่ข้อดีของสวน Apple ที่ดีกว่าสวนผักเพราะสวนผักคนงานจะต้องเสียเวลามาไถดินและเก็บเกี่ยวผลผลิตในทุกๆปี แต่สวน Apple คนงานจะเสียเวลาแค่มาตอนเก็บเกี่ยวผลผลิตช่วงที่ Apple โตเท่านั้นทำให้คนงานมีเวลาว่างไปทำงานมากขึ้นนั่นเอง

+ Animal pen สร้างคอกเลี้ยงสัตว์ในสวนหลังบ้านซึ่งจะมีสองตัวเลือกระหว่างการเลี้ยงหมู จะได้เนื้อ 2 ชิ้นต่อ 150 วัน หรือ เลี้ยงแพะได้เนื้อ 1 ชิ้นและ Hide (หนังไม่แปรรูป) 1 ชิ้นต่อ 150 วันเหมือนกัน ข้อดีของคอกเลี้ยงสัตว์คือการได้ผลผลิตเรื่อยๆคล้ายกับการไปล่าสัตว์โดยที่ชาวบ้านไม่ต้องทำอะไรเลยและคนงานจะมีเวลาว่างไปทำงานอย่างอื่นด้วย นอกจากนี้คอกเลี้ยงสัตว์ยังไม่ต้องสร้างที่ดินกว้างเท่ากับการทำสวนผักหรือสวน Apple

+Chicken Coop การเลี้ยงไก่ สร้างเล้าไก่ที่สวนหลังบ้านของชาวบ้านช่วยผลิตไข่ทุกๆเดือน ข้อดีของการเลี้ยงไก่จะคล้ายๆกับการเลี้ยงแพะเพราะเล้าไก่จะช่วยผลิตไข่ซึ่งเป็นอาหารให้กับคนในเมืองเรื่อยๆโดยที่ชาวบ้านไม่ต้องทำอะไรและคนงานยังมีเวลาว่างทำงานอย่างอื่นอีกด้วย แต่ข้อเสียของการเลี้ยงไก่คือผลผลิตที่น้อยมากๆไม่พอต่อการบริโภคในช่วงต้นเกม ถ้าอยากจะเลี้ยงไก่เพื่อสร้างอาหารจะแนะนำให้ปลูกผักหรือทำสวนแอปเปิ้ลจะเป็นการเพิ่มอาหารให้เมืองได้ดีกว่า


สวนหลังบ้านเภทสอง
อัพได้หลังจากบ้านเลื่อนเป็นเลเวล 2 ขึ้นไป หลังอัพจะเปลี่ยนแรงงานให้กลายเป็น Artisans ช่างฝีมือ ซึ่งจะไม่สามารถทำงานอื่นๆได้นอกจากงานของ Artisans
+Bakery Extension ทำสวนหลังบ้านให้กลายเป็นร้านอบขนมปัง ซึ่งจะช่วยผลิตขนมปังเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า เหมาะสำหรับเมืองที่มีความอุดมสมบูรณ์ในการทำฟาร์มเพื่อผลิตอาหารขายหรือใช้บริโภคในเมือง หากไม่ใช่เมืองที่เหมาะสำหรับการทำฟาร์มการวิจัยนี้ก็อาจจะไม่ค่อยเหมาะเท่าไหร่ ร้านอบขนมปังแบบทั่วไปก็เพียงพอ

+Blacksmith's Workshop โรงตีอาวุธ ใช้ Iron Slabs (แผ่นเหล็ก)และ Plank (แผ่นไม้)ในการผลิตดาบ หอก ง้าว ชิ้นส่วนประกอบหน้าไม้หรือ Tool เครื่องมือ

+Brewery Extension โรงบ่มเบียร์ใช้ Malt มาผลิตเป็นเบียร์ Ale เพื่อใช้สร้างความบันเทิงให้กับเมืองของเรา

+Tailor's Workshop ใช้ผลิตเสื้อผ้าต่างๆเช่นเสื้อคลุม เกราะนวม เพื่อเติมเต็มความต้องการของชาวเมืองประเภทเสื้อผ้าระดับ 2 ใช้ผ้าลินิน ด้ายและสีย้อมผ้าในการผลิต

+Cobbler's Workshop ใช้ผลิตรองเท้าหนังเพื่อเติมเต็มความต้องการของชาวเมืองประเภทเสื้อผ้าระดับ 2 ใช้ Leather(หนังแปรรูป) เป็นวัตถุดิบในการผลิต

+Joiner's Workshop โรงช่างไม้ใช้ผลิตโล่และฟันเฟือง โดยใช้ไม้กระดานในการแปรรูป

+Armorer's Workshop โรงตีเกราะ ใช้ผลิตเกราะประเภทต่างๆเช่นหมวกเกราะ เกราะโซ่หรือเกราะเหล็ก ใช้แผ่นเหล็กในการแปรรูป

+Fletcher's Workshop โรงสร้างธนู ใช้ Plank ไม้กระดานในการผลิตธนูและหน้าไม้

+Butcher's workshop โรงเชือดสัตว์ไว้ทำแกะมาเชือดเพื่อได้รับเนื้อและหนังไม่แปรรูปได้ นอกจากนี้ยังสามารถใช้ผลิตไส้กรอกโดยใช้เนื้อและเกลือ 1 ชิ้นจะได้ผลิตไส้กรอกได้ 2 อัน
ระบบเน่าเสีย

ในแพตช์ 0.8.004 ได้เพิ่มระบบการเน่าเสียของอาหารเข้ามา โดยจะมีการแบ่งระดับตั้งแต่ Very low ไปจนถึง High ทำให้การตุนอาหารในแต่ละปีจะยากขึ้นโดยเฉพาะเนื้อสัตว์และปลาที่เน่าเสียง่าย ต่างจากผัก แอปเปิลและขนมปังที่จะเน่าเสียยากกว่าทำให้ผู้เล่นต้องวางแผนการเก็บอาหารมากขึ้น นอกจากนี้การเก็บอาหารไว้ใน Granary จะช่วยถนอมอาหารให้เน่าเสียยากขึ้นอีกด้วย
การทำฟาร์ม

ก่อนจะทำฟาร์มให้ทำการเช็คที่โอเวอร์เลย์ของ construction เพื่อดูความอุดมสมบูรณ์ของดินแดนว่าสามารถปลูกผลผลิตอะไรได้บ้าง ในปัจจุบันเราสามารถปลูกผลผลิตได้ 4 อย่างคือ Wheat ข้าวสาลีใช้และ Rye ข้าวไรซ์สำหรับทำขนมปัง Flax ใช้สำหรับทำผ้าลินิน และบาร์เลย์ใช้สำหรับทำเบียร์ Ale
หลังจากตรวจสอบความอุดมสมบูรณ์แล้ววาง Field แปลงสำหรับทำไร่ โดย UI จะแสดงถึงโอกาสที่เราจะปลูกผลผลิตเช่นนั้นสมบูรณ์ได้เท่าไหร่ ข้าวสาลีอาจจะปลูกได้ 90% Flax อาจจะปลูกได้ 50% เป็นต้น

การทำฟาร์มจะแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ขั้นตอนแรกคือการไถดินและหว่านเมล็ดซึ่งจะเริ่มทำในช่วง Autumn ฤดูใบไม้ร่วงเพื่อให้พืชใบโตในช่วง spring ฤดูใบไม้ผลิและช่วง summer ฤดูร้อน หลังจากถึงแล้วดูใบไม้ร่วงของปีหันไปจึงจะเป็นการเก็บเกี่ยวผลผลิตนั้นๆ โดยหลังจากผมผลิตเติบโตที่ดินของเราที่ใช้ในการทำฟาร์มจะเสียความอุดมสมบูรณ์ไปทำให้ปีต่อมาการทำผลผลิตจะได้น้อยลง วิธีแก้จึงมี 2 ทางเลือกคือการทำที่ดินหลายๆแปลงเพื่อใช้ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนในการทำฟาร์ม หรือจะใช้ Development Fertilization การเลี้ยงแกะใน field เพื่อฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น(อย่างไรก็ตามการฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์จะฟื้นฟูเท่ากับความรวมสมบูรณ์เริ่มต้นเท่านั้นไม่สามารถฟื้นฟูให้มากกว่านั้นได้ ยกตัวอย่างถ้าพื้นที่ทำฟาร์มเป็นสีเหลืองมีโอกาสปลูกพืช 80% หลังจากปลูกเสร็จอาจจะลดเหลือมา 60% การเลี้ยงแกะก็จะช่วยฟื้นได้แค่ 80% เท่านั้นไม่สามารถฟื้นเป็น 90% หรือ 100% ได้)


ในส่วนขนาดของ field ไม่ควรสร้างแปลงขนาดมากกว่า 1 Morgan เพราะถ้ายิ่งขนาดของแปลงในการปลูกพืชมากเท่าไหร่ก็จะใช้เวลาในการทำฟาร์มมากขึ้นเท่านั้นซึ่งจะส่งผลต่อความเร็วในการเจริญเติบโตของพืชที่เราปลูก ยกตัวอย่างการทำไร่ขนาด 4 Morgan กับการทำไร่ขนาด 1 Morgan จะแบ่งเป็น 4 ช่อง การทำไร่ขนาด 4 Morgan อาจจะใช้เวลาไถดินมากเกินไปจะทำให้ผลผลิตเติบโตไม่ทันซึ่งก็ต่างกับการปลูกแบบ 1 Morgan แล้วแบ่งเป็นหลายๆช่องซึ่งจะทำให้คนงานไทยดิ้นและหว่านเมล็ดเร็วขึ้นซึ่งส่งผลให้พืชเจริญเติบโตได้เร็วขึ้น นอกจากนี้เรายังสามารถทำฟาร์มเฮ้าส์ 2-3 หลังเพื่อนำวัวมาใช้ในการไถดินมากขึ้น เพราะ farmhouse 1 หลังจะจำกัดวัวให้ใช้ได้แค่ 2 ตัวดังนั้นการมี farmhouse หลายๆอันจึงสามารถนำวัวหลายตัวมาช่วยในการไถดินได้ดีขึ้นนั่นเอง


การเลี้ยงสัตว์
เราสามารถซื้อหรือขายสัตว์ได้จาก Livestock Trading Post และสร้างรั้วให้แกะอยู่อาศัย หากรั้วไม่สามารถจุจำนวนสัตว์ได้สัตว์จะหนีออกจากเมือง
ปัจจุบันเราสามารถเลี้ยงสัตว์ได้ประเภทเดียวคือ Sheep แกะ การเลี้ยงสัตว์จำเป็นต้องสร้าง Sheep Farm เพื่อใช้ในการดูแลและเก็บขนแกะ แกะจะช่วยผลิต Wool ขนแกะ เพื่อนำไปทำ Yarns ด้ายเพื่อแปรรูปเป็นเสื้อผ้า
ถ้าอยากเน้นการเลี้ยงแกะเป็นหลักให้อัพเกรด development Sheep breeding ซึ่งจะทำให้แกะผสมพันธ์และเพิ่มจำนวนไปเรื่อยๆได้ ทำให้เราซื้อแกะแค่คู่เดียวก็สามารถเพิ่มจำนวนได้เรื่อยๆได้
Trading post และการส่งของไปเมืองอื่นๆ

การขายของให้เราไปที่ Trading Post สถานีขายของเพื่อนำสินค้าไปขายโดยคนงานจะขนสินค้าจาก Storehouse ที่เก็บของและ Granary ยุ้งฉางมาใส่ในTrading Post เพื่อให้ขายให้กับพ่อค้า
โดยการขายของจะแบ่งเป็นสองแบบคือ Minor trade การขายของชิ้นเล็กซึ่งสามารถนำไปขายกับพ่อค้าเร่ได้เลย(พ่อค้าเร่จะเดินผ่านเมืองของเราเรื่อยๆแบบสุ่ม) และ Major trade การขายสินค้าหลักซึ่งจำเป็นต้องเปิด Trade route(Trade route เปิดเส้นทางการค้าเพื่อให้พ่อค้ามาซื้อสินค้านั้นๆมากขึ้น) เพื่อให้พ่อค้าจากนอกแมพมาซื้อของ
วิธีการซื้อและขายของให้เปลี่ยนจาก No trad เป็น Import(ซื้อของ) Export(ขายของ) Full trade(ซื้อและขายของ) โดยให้เราระบุจำนวนที่ต้องการซื้อหรือขาย
Import ซื้อของจนกว่าจะถึงจำนวนที่กำหนด เช่น คุณมีเนื้อ 10 ถ้าคุณตั้ง Import ไว้ 50 พ่อค้าจะซื้อเนื้อจนกว่าจะครบ 50
Export ขายของจนกว่าจะถึงจำนวนที่กำหนด เช่น คุณมีขนมปัง 200 ถ้าคุณตั้ง Export ไว้ 50 พ่อค้าจะขายขนมปังจนกว่าจะเหลือ 50
Full trade ซื้อและขายของจนกว่าจะถึงจำนวนที่กำหนด เช่น คุณมีหอก 150 คุณตั้ง Full trade ไว้ 300 พ่อค้าจะซื้อหอกจนกว่าจะครบ 300 และสมมติคุณผลิตหอกได้เกิน 300 พ่อค้าจะเริ่มขายส่วนเกินนั้นๆ

Pack Station สถานีขนส่งของ ใช้สำหรับส่งของไปเมืองอื่นๆโดยใช้ Mules ล่อเพื่อการขนสินค้าแลกเปลี่ยนระหว่างเมืองให้มากขึ้น โดยจำนวนของที่แลกจะอิงจากราคาของสิ่งของนั้นๆเช่น ถ้าขนมปังราคา 7 บาทต่อชิ้นแลกกับดาบราคา 14 บาทต่อเล่ม จะต้องใช้ขนมปัง 2 ชิ้นเพื่อแลกดาบ 1 เล่ม Packstation ไม่จำเป็นต้องวางสองเมืองวางไว้แค่เมืองเดียวก็สามารถแลกเปลี่ยนของได้ทุกที่อย่างเมือง A ต้องการแลกสินค้ากับเมือง B ก็วาง Packstation แค่เมือง A ทั้งสองเมืองก็คนงานใน Packstation ของที่เมือง A จะส่งสินค้าไปเก็บที่ Storehouse และ Granary ของเมือง B

1 Comments
Setto  [author] Aug 27, 2024 @ 7:44pm 
ด้วยความที่เกมยังเป็น early access ทำให้มีบัคอยู่บ้างในขณะที่เล่น
บัคในแพตช์ 0.9.7.5 มีบัคเกี่ยวกับการล่าสัตว์ หากเราอัพเกรด development วางกับดักล่าสัตว์จะทำให้สัตว์ต่างๆหนีออกจากจังหวัดของเรามากขึ้น ทำให้การล่าสัตว์ช้าลงได้หนังและเนื่อน้อยลง